ปฏิบัติการศึกษาทางเดินอาหารของไส้เดือนดิน

       ปฏิบัติการศึกษาทางเดินอาหารของไส้เดือนดิน เป็นหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา เพื่อศึกษาทางเดินอาหารของไส้เดือนดิน กับฝีมือการผ่าตัดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดรุณาราชบุรี สถานศึกษาแห่งความดี โรงเรียนแห่งความสุข





 ไส้เดือนดิน มีระบบทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ คือ ประกอบไปด้วย ปาก(mouth) -> คอหอย(phaynx) -> หลอดอาหาร(esophagus) -> กระเพาะพักอาหาร(crop) -> กึ๋น(gizzard) -> ลeไส้(intestine) -> ทวาร(anus)
1. ปาก(mouth)
อยู่บริเวณปล้องแรกสุด มีริมฝีปาก 3 พู ใช้ขุดดินและช่วยในการเคลื่อนที่
2. คอหอย(phaynx)
อยู่บริเวณปล้องที่ 4-6 ลักษณะพองออกเล็กน้อย มีกล้ามเนื้อหนา แข็งแรง ช่วยในการกลืนอาหารให้อาหารผ่านเข้าสู่กระเพาะพักอาหารได้
3. หลอดอาหาร(esophagus)
อยู่บริเวณปล้องที่ 6-12 ลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กกว่าคอหอย เป็นทางผ่านของอาหาร
4. กระเพาะพักอาหาร(crop)
อยู่บริเวณปล้องที่ 12-16 ลักษณะเป็นถุงผนังบาง
5. กึ๋น(gizzard) ประกอบด้วยผนังกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมาก ทำหน้าที่บดอาหารให้มี ขนาดเล็กลง
6. ลำไส้(intestine) เป็นทางเดินอาหารที่ยาวที่สุด เซลล์ที่บุผนังลำไส้จะปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร อาหารที่ย่อยแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย
7. ทวารหนัก(anus) เป็นช่องเปิดปลายสุด ทำหน้าที่ขับถ่ายกากอาหารออกนอกร่างกาย










ความคิดเห็น